วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ผู้แต่ง







พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช


ลักษณะของคำประพันธ์ กลอนบทละคร
จุดประสงค์ในการแต่ง เพื่อใช้เล่นละครใน และใช้เป็นบทปลุกใจประชาชนให้กล้าหาญ 

                                                              

             
                                                                                                                                  




เฉลยแบบทดสอบ

















1.    ก
2.    ง
3.    ง








 4.    ก                                         
5.    ก
6.    ค                                                   
7.    ง
8.    ค
9.    ข
10.  ง


แบบทดสอบ



คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
 







1. ใครเป็นคนแต่งเรื่องรามเกียรติ์
    ก. รัชกาลที่ 1                 ข. รัชกาลที่ 2
    ค. รัชกาลที่ 3                 ง. รัชกาลที่ 4

2. เรื่องรามเกียรติ์ แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด
    ก. กลอนสุภาพ               ข. กาพย์ยานี 11
    ค. กาพย์ฉบัง 16             ง. กลอนบทละคร

3. กลอนบทละครต่างจากกลอนสุภาพอย่างไร
    ก. จำนวนคำในแต่ละวรรค     
    ข. กลอนบทละครต้องจบด้วย "เอย"
    ค. กลอนบทละครไม่บังคบเรื่องสัมผัส
    ง. ถ้าขึ้นต้นด้วยวรรคแรกมักใช้คำว่า เมื่อนั้น บัดนั้น 

4. สมมุติว่านักเรียนตกอยู่ในสภาพแบบนนทกนักเรียนจะทำอย่างไร
    ก. วางเฉย                       ข. หาทางแก้แค้น
    ค. สาปแช่ง                     ง. พาเพื่อนมารุมทำร้าย

5. ข้อคิดจากเรื่องรามเกียรติ์ข้อใดที่เราสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
    ก. การอดทนอดกลั้น         ข. แค้นนี้ต้องชำระ
    ค. การใช้อำนาจ               ง. เวรย่อมระงับด้วยการจองเวร

6. ตัวละครตัวใดในเรื่องที่สมควรได้รับการเห็นใจมากที่สุด
    ก. เทวดา                         ข. พระอิศวร
    ค. นนทก                         ง. พระนารายณ์

7. ข้อใดใช้คำราชาศัพท์ถูกต้องที่สุด
    ก. หม่อมฉันขอประทานนิ้วเพชรจากพระองค์
    ข. หม่อมฉันขอพระราชทานนิ้วเพชรจากพระองค์
    ค. ข้าพพุทธเจ้าขอประทานนิ้วเพชรจากพระองค์
    ง. ข้าพพระพุทธเจ้าขอพระราชทานนิ้วเพชรจากพระองค์

8. ตัวละครในข้อใดไม่ต้องใช้คำราชาศัพท์ในการสื่อสารกับตัวละครอื่น
    ก. พระนารายณ์                 ข. พระอินทร์
    ค. พระอิศวร                      ง. เทวดา

9. ข้อใดมีอุปมาโวหาร
    ก. กูเป็นมนุษย์แต่สองกร  ตามไปราญรอนชีวี
    ข. ฮึดฮัดขัดแค้นแน่นใจ   ตาแดงดั่งแสงไฟฟ้า
    ค. ย้ายท่ามัจฉาชมสาคร พระสี่กรขว้างจักรฤทธิรงค์
    ง. สุดเอยสุดสวาท           โฉมประหลาดล้ำเทพอัปสร

10. คำประพันธ์ข้อใดเป็นนารีปราโมทย์
    ก. สัพยอกหยอกเล่นเหมือนทุกวัน  สรวลสันต์เยาะเย้ยเฮฮา
    ข. เมขลาโยนแก้วแววไว               มยุเรศฟ้อนในอัมพร
    ค. ย้ายท่ามัจฉาชมสาคร              พระสี่กรขว้างจักรฤทธิวงค์
    ง. สุดยอดสุดสวาท                       โฉมประหลาดล้ำเทพอัปสร









คำศัพท์






กระเษียรวารี คือ เกษียรสมุทรหรือทะเลน้ำนม
ไกรลาส คือ ชื่อภูเขาที่เป็นที่ประทับของพระอิศวร
คนธรรพ์ คือ ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง มีความชำนาญในวิชาดนตรีและขับร้อง
จุไร คือ ผมที่เกล้าเป็นจุกและประดับอย่างสวยงาม
ตรัยตรึงศา คือ ตรัยตรึงศ์หรือดาวดึงค์ แปลว่า 33
ตรี คือตรีศูล เป็นอาวุธสามง่าม ปกติเป็นเทพอาวุธของพระอิศวรแต่ในที่นี้เป็นอาวุธของพระนารายณ์
เทพอัปสร คือ นางฟ้า
ธาตรี คือ แผ่นดิน
นนทก, นนทุก ในรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1 ตัวละครตัวนี้ชื่อว่านนทก
นาคี คือ งูใหญ่มีหงอน เป็นสัตว์ในนิยาย
บทบงสุ์, บทศรี ใช้หมายถึงพระบาทของเทวดาหรือกษัตริย์
บังเหตุ คือ ประมาท ทำให้เป็นเหตุ
พระหริวงศ์ คือ พระนารายณ์
ไฟกาล คือ ไฟกัลป์ หรือ ไฟบรรลัยกัลป์
ภักษ์ผล คือ ผลสำเร็จ
ลักษมี คือ ชายาของพระนารายณ์
วิทยา ในที่นี้คือ วิทยาธร ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง มีวิชาอาคม
สำเร็จมโนรถ คือ ได้ตามต้องการ
สิ้นท่า คือ ครบทุกท่ารำ
สุบรรณ ครุฑ คือ พญานกในเทพนิยาย
สุรัสวดี คือ ชายาของพระพรหม
โสมนัสา คือคำว่า โสมนัส หมายความว่า ยินดี
หัสนัย์ สหัสนัยน์ คือ ผู้มีพันตา หมายถึง พระอินทร์ เป็นเทวราชาผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้ดาวดึงส์
อสุนี คือ อสุนีบาต หมายถึง ฟ้าผ่า
อัฒจันทร์ ในที่นี้หมายถึง ขั้นบันได















                           

ข้อคิด











1. อำนาจตกอยู่ในมือของคนที่ลืมตัว จะเกิดผลร้ายตามมาได้
2. เมื่อคนมีอำนาจ จะตัดสินใจด้วยความรู้สึกก้าวร้าวรุนแรงได้ง่ายเมื่อคิดว่าถูกรังแก
3. คนเราควรใช้อำนาจเพียงเพื่อป้องกันตัวไม่ให้รับพิบัติเท่านั้น ไม่ใช้ทำลายผู้อื่นเพื่อแก้แค้น
4. ความหลงอำนาจเป็นกิเลสอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้อยู่ร่วมในสังคมต้องได้รับความเดือดร้อน
5. วรรณคดีเป็นบทวิจารณ์ชีวิตที่ทำให้คนเราเข้าใจชีวิตของเพื่อนมนุษย์ได้อีกทางหนึ่ง

ตัวละครในเรื่อง

        พระนารายณ์                                                              นนทก                                                           

                                                                                                                                                                                  

      นางสุวรรณอัปสร                                                                      พระอิศวร                                              

                                     





เหล่าเทวดาทั้งหลาย

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก







                นนทกนั่งประจำอยู่ที่บันไดของเขาไกลลาศ โดยมีหน้าที่ล้างเท้าให้แก่เหล่าเทวดาที่มาเข้าเฝ้าพระอิศวร ได้ยื่นเท้าให้ล้างแล้วมักแหย่เย้าหยอกล้อนนทกอยู่เป็นประจำด้วยการลูบหัวบ้าง ถอนผมบ้างจนกระทั้งหัวโล้นทั้งศรีษะ นนทกแค้นใจมากแต่ว่าตนเองไม่มีกำลังจะสู้ได้  จึงไปเข้าเฝ้าพระอิศวรแล้วกราบทูลว่า ตนได้ทำงานรับใช้พระองค์มาช้านานแล้วแต่ยังไม่เคยได้รับสิ่งตอบแทนใด ๆ เลย จึง ทูลขอให้นิ้วเพชรมีฤทธ์ชี้ผู้ใดก็ให้ผู้นั้นตาย พระอิศวรเห็นว่านนทกปฏิบัติหน้าที่รับใช้พระองค์มานานจึงประทานพรให้ตามที่ขอ ไม่นานนักนนทกก็มีใจกำเริบเพียงแต่ถูกเทวดามาลูบหัวเล่นเช่นเคย นนทกก็ชี้ให้ตายเป็นจำนวนมาก พระอิศวรทรงทราบก็ทรงกริ้วโปรดให้พระนารายณ์ไปปราบ พระนารายณ์ได้แปลงเป็นนางฟ้ามายั่วยวนนนทกนึกรักจึงเกี้ยวนาง นางจึงชักชวนให้นนทกรำตามนางก่อนจึงจะรับรักนนทกรำตามไปจนถึงท่ารำที่ใช้นิ้วเพชรชี้ขาตนเองนนทกก็ล้มลง จากนั้นนนทกเห็นนางแปลงร่างเป็นพรนารายณ์จึงได้พูดว่า พระนารายณ์เอาเปรียบตนเพราะว่าพระนารายณ์มีอำนาจ มีทั้ง 4 กร แต่ตนมีแค่ 2 มือ และเหตุใดจึงมาทำอุบายหลอกลวงตนอีก พระนารายณ์จึงท้าให้นนทกไปเกิดใหม่ให้มี 20 มือ แล้วพระองค์จะตามไปเกิดเป็นมนุษย์มีเพียง 2 มือ ลงไปสู้กัน หลังจากที่พระนารายณ์พูดจบก็ใช้พระแสงตรีตัดศรีษะ นนทกแล้วนนทกก็สิ้นใจตาย ชาติต่อมานนทกจึงได้ไปเกิดเป็นทศกัณฐ์ส่วนพระนารายณ์ก็อวตารลงมาเกิดเป็นพระราม